ทำความรู้จักกับ ก๊าซออกซิเจน

ก๊าซออกซิเจน ( O2 ) คือ ออกซิเจนในสภาวะก๊าชที่มีอยู่ในอากาศ โดยธรรมชาติเกิดมาจากกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช ก๊าชออกซิเจนเป็นก๊าซที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของทั้งพืช สัตว์ และมนุษย์ ถ้าขาดก๊าชออกซิเจนก็จะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เพราะหลังจากเราหายใจเข้าไปก๊าชออกซิเจนจะถูกนำมาใช้เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของกระบวนการต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น กระบวนการเปลี่ยนแปลงอาหารให้เป็นพลังงาน กระบวนการรักษาเซลล์ การสังเคราะห์เอนไซม์หรือวิตามินที่ใช้ในร่างกาย เป็นต้น

โดยในอากาศจะมีค่าก๊าชออกซิเจนผสมอยู่ร้อยละ 21 รองมาจากก๊าซไนโตรเจนที่มีอยู่ประมาณร้อยละ 78 ก๊าชออกซิเจนเป็นก๊าซไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรสชาติ ละลายน้ำได้ ไม่ติดไฟแต่ทว่าออกซิเจนเป็นสารที่ช่วยให้ติดไฟ นั่นคือถ้าไม่มีออกซิเจนก็จะไม่สามารถติดไฟได้

Spo2 คือ ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเส้นเลือดฝอยของเส้นโลหิตฝอยซึ่งเป็นค่าประมาณของปริมาณออกซิเจนในเลือด เป็นเปอร์เซ็นต์ของเฮโมโกลบินออกซิเจน หรือ ความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดในเลือด ซึ่งเป็นรอบการหายใจ

Oxygen saturation คือ การวัดความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด ซึ่งปกติอยู่ที่ระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดงปกติในมนุษย์อยู่ที่ 95–100 เปอร์เซ็นต์

ออกซิเจนนอกจากจะอยู่ในอากาศแล้วยังเป็นพบอยู่รวมกับธาตุชนิดอื่น ๆ รอบตัวเราอีกด้วย เช่น น้ำ ( H2O )  ก๊าชคาร์บอนไดออกไซต์ ( CO2 ) เป็นต้น

การใช้งานออกซิเจนของร่างกาย

ก๊าชออกซิเจนจะเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจเข้าไปสู่ปอด เมื่อก๊าชออกซิเจนเข้าสู่ปอดจะเกิดการแลกเปลี่ยนก๊าซเพื่อให้ก๊าซออกซิเจนเข้าไปจับฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงและเดินทางเข้าหัวใจ หัวใจจะส่งเม็ดเลือดแดงที่เต็มไปด้วยออกซิเจนนี้ไปยังอวัยวะต่าง ๆ เพื่อที่ออกซิเจนจะเข้าไปช่วยในกระบวนการเมตาบอลิซึมของงเซลล์ตามอวัยวะเพื่อรักษาให้เซลล์มีชีวิตอยู่ต่อไป เช่น เซลล์กล้ามเนื้อ เซลล์ตับ เซลล์ไต เซลล์สมอง เป็นต้น ถ้าร่างกายเกิดภาวะขาดออกซิเจนหรือได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอต่อความต้องการจะทำให้เซลล์ตายส่งผลให้อวัยวะตายตามไปด้วย

ซึ่งในปัจจุบันนี้ เรามีเครื่องวัดก๊าซออกซิเจนกันแล้ว ซึ่งเครื่องวัดก๊าซออกซิเจนจะสามารถวัดทั้งก๊าซออกซิเจน และก๊าซสำคัญอื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อร่างกายด้วย อีกทั้งเครื่องวัดก๊าซออกซิเจนยังสามารถทำงานบนความชื่นได้ดีอีกด้วย